เป็นเวลามากกว่า 3000 ปีมาแล้ว ตั้งแต่ที่ชาวบาลิโบนริเริ่มศึกษาวัตถุบนท้องฟ้า ซึ่งนับเป็นครั้งแรก ๆ ที่แขนงวิชาดาราศาสตร์ได้ปรากฏอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ของมวลมนุษย์ เมื่อระยะเวลาผ่านพ้นไป แขนงวิชาที่ถือได้ว่าเป็นศาสตร์แห่งการสงสัยใคร่รู้ในปริศนาของสสารที่อยู่ไกลออกไปจากโลก และยังปรากฏอยู่ในแทบทุกอารยธรรมของโลก เช่นเดียวกับประเทศไทย โดยเฉพาะการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงทำนายการเกิดสุริยุปราคาที่หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อปี พ.ศ. 2411 ได้อย่างแม่นยำ ถือว่าเป็นปฐมฤกษ์อันดีสำหรับการศึกษาดาราศาสตร์สมัยใหม่ในประเทศไทยสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ด้วยโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสาขาวิชาดาราศาสตร์ จึงได้ดำเนินการจัดสร้างท้องฟ้าจำลองขึ้น เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญทางด้านดาราศาสตร์สำหรับนักเรียน บุคลากร ผู้ปกครอง และบุคคลที่สนใจ ได้ศึกษาเรียนรู้ เกิดความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับดาราศาสตร์ ตามวิธีการ Active Learning ด้วยการดำเนินการสอนด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวกที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และต่อมาสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยาบรมราชกุมารี ได้พระราชทานชื่อท้องฟ้าจำลองแห่งนี้ว่า “ท้องฟ้าจำลองสิรินธร” และพระราชทานพระราชานุญาตให้เชิญอักษรพระนามาภิไธย “ส.ธ.” ประดับที่ป้ายชื่อท้องฟ้าจำลองด้วย